วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2552

Jazz Blues

เมื่อเราเห็นคำว่า "บลูส์" อยู่ในชื่อเพลงใด ๆ อย่าเพิ่งคิดว่ามันเป็นบลูส์จริง ๆ นะครับ อย่างเพลงดัง ๆ เช่น "Limehouse Blues" หรือ "Bye Bye Blues" นั้นไม่ได้เป็นบลูส์เหมือนอย่างชื่อเลยนะครับ เช่นเดียวกันกับเพลงของ Chick Corea ชื่อ "Blues For Liebestraum" และเพลงของ Ceda Walton ชื่อ "Bremond's Blues" ก็ไม่ได้เป็นบลูส์เช่นกัน

ส่วนใหญ่แล้วเพลงบลูส์จะมี 12 บาร์ครับ แต่ก็มีบ้างที่ยาวกว่า 12 บาร์ หรือสั้นกว่า 12 บาร์ และถึงแม้ว่าเพลงบางเพลงจะมี 12 บาร์ แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นบลูส์เสมอไปนะครับ เพราะว่าหัวใจของเพลงบลูส์นั้นมิได้อยู่ที่ฟอร์ม หรือจำนวนห้อง หากแต่อยู่ที่อารมณ์ ความรู้สึก ความคิด และสำเนียงที่ถ่ายทอดออกมา (อยากแนะนำให้ฟัง B.B. King )

ก่อนจะเรียนรู้ Jazz Blues เราคงต้องเข้าใจบลูส์ดั้งเดิม หรือ Traditional Blues ก่อนเป็นอันดับแรก

Traditional Blues 1.png

Traditional Blues ประกอบไปด้วยคอร์ด I , IV และ V เป็นสำคัญ และทุกคอร์ดเป็น Dominant 7 หมด เช่น F7 , Bb7 และ C7 ดังตัวอย่างข้างต้น
ให้สังเกตบาร์ที่ 1 , 5 , 9 และ 12 ไว้นะครับ ซึ่งก็คือบาร์ที่มีคอร์ด F7 , Bb7 , C7 และ C7 นั่นเอง เพราะนั่นคือบาร์ที่สำคัญของ Traditional Blues ในการที่จะนำไปพัฒนาเป็น Jazz Blues ในขั้นต่อไป


คราวนี้เราลองมาดูหน้าตาของ Jazz Blues กันบ้างว่าแตกต่างจาก Traditional Blues มากน้อยเพียงใด สังเกตให้ดีนะครับ

Major Jazz Blues 1.png

ลองพิจารณาที่ละ 5 บาร์ก่อนนะครับ ให้ดูเปรียบเทียบระหว่าง Jazz Blues กับ Traditional Blues ตั้งแต่บาร์ที่ 1 ถึงบาร์ที่ 5 นะครับ จะเห็นว่ามีการเคลื่อนไหวที่ต่างกัน แต่คอร์ดเป้าหมายเหมือนเดิม (คือคอร์ด F7 ในบาร์ที่ 1 และคอร์ด Bb7 ในบาร์ที่ 5)
ความสำคัญอยู่ที่บาร์แรกและบาร์ที่ 5 นอกเหนือจากนั้น Jazz Blues จะเล่นเป็นคอร์ดอื่น เช่น Bb7 ในบาร์ที่ 2 แล้วกลับมาเล่น F7 ในบาร์ที่ 3 อีกครั้ง เนื่องจากไม่ใช่บาร์ที่ให้ความสำคัญอะไรมาก แต่เมื่อถึงบาร์ที่ 4 Jazz Blues จะเล่นคอร์ดที่เป็น ii - V (ทู - ไฟว์) ของคอร์ดในบาร์ที่ 5 คือเล่น Cm7 - F7 ส่งไป Bb7 นั่นเอง เมื่อมาถึงบาร์ที่ 7 ก็จะกลับมาเป็น F7 เหมือนเดิม

คราวนี้แหละ ตั้งใจอ่านนะครับ
บาร์ที่ 8 จะเป็น ii - V (ทู - ไฟว์) ของบาร์ที่ 9 แต่จะเห็นว่าบาร์ที่ 9 ของ Jazz Blues เป็นคอร์ด Gm7 ในขณะที่บาร์ที่ 9 ของ Traditional Blues เป็นคอร์ด C7 ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า ในทางแจ๊สนั้นเราจะมองว่าคอร์ด ii (ทู) กับคอร์ด V (ไฟว์) เป็นคอร์ดที่ใช้แทนกันได้ หรือแทบจะเรียกว่าเป็นคอร์ดเดียวกันก็ว่าได้ กล่าวคือ ใน Traditional Blues นั้น คอร์ด C7 ในบาร์ที่ 9 คือคอร์ด V (ไฟว์) ของ F7 ดังนั้น เราจึงสามารถเล่นคอร์ด Gm7 ซึ่งเป็น ii (ทู) ของ F7 แทนได้นั่นเอง
เมื่อบาร์ที่ 9 คือ Gm7 ซึ่งเป็น ii (ทู) บาร์ที่ 10 จึงเล่นคอร์ด C7 ซึ่งเป็น V (ไฟว์) ของบาร์ที่ 11 แต่เนื่องจากบาร์ที่ 12 ใน Traditional Blues เป็นคอร์ด C7 ในทางแจ๊สจึงสามารถเล่นคอร์ด Gm7 แทนได้ แล้วให้เล่น ii - V (ทู - ไฟว์) ในบาร์ที่ 11 เพื่อเชื่มไปบาร์ที่ 12 ซึ่งจะได้ Am7b5 - D7b9 ไปหา Gm7 ดังตัวอย่าง
และเพื่อเป็นการย้อนกลับไปคอร์ดเริ่มต้นใหม่ซึ่งเป็นคอร์ด F7 เราจึงสามารถเล่น ii - V (ทู - ไฟว์) ในบาร์ที่ 12 ซึ่งจะได้คอร์ด Gm7 - C7 นั่นเอง (บาร์ที่ 11 - 12 ใน Jazz Blues นั้น เรียกว่า turn around)

จะเห็นว่า Jazz Blues นั้นเน้นการใช้คอร์ด ii - V (ทู - ไฟว์) ในการเชื่อมไปยังคอร์ดต่อไป และเปลี่ยนคอร์ด V (ไฟว์) เป็นคอร์ด ii (ทู) ดังที่ได้ยกตัวอย่างไว้ จึงทำให้สีสันใน Jazz Blues นั้นมีมากกว่า Traditional Blues ซึ่งมีเพียง 3 คอร์ด
เมื่อใดที่เราได้ยินคำว่า Jazz Blues ให้จำไว้ว่าต้องเล่นฟอร์มนี้ (มาตรฐานเดียวกันทั่วโลก) เพียงแต่จะคีย์อะไรเท่านั้นเอง

เชื่อว่าคงต้องมีคนงงเรื่อง ii - V (ทู - ไฟว์) แน่ ๆ เอาไว้ผมจะมาอธิบายเรื่อง ii - V (ทู - ไฟว์) โดยเฉพาะเลยละกันนะครับ ช่วงนี้สงสัยอะไรฝากคำถามไว้ได้เลยครับ

ขอให้สนุกกับ Jazz Blues นะครับ





9 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ5 มีนาคม 2552 เวลา 14:25

    เยี่ยมเลยครับ คุณ จีรศักดิ์
    ผมกำลังอยากรู้อยู่พอดีเลยครับ
    จะต้องลองไปทำความเข้าใจดูก่อน
    ถ้าติดตรงไหนจะมารบกวนถามอีก

    ว่าแล้วตอนนี้ขอสักคำถามหนึ่งก่อนก็แล้วกัน

    (คำถาม)
    1.โดยปกติถ้า คุณ จีรศักดิ์ เล่น Jazz Blues
    คุณ จีรศักดิ์ นิยมเล่น Key อะไรหรือครับ
    ผมจะได้ไปลองฝึกให้คล่องบ้าง

    ตอบลบ
  2. แล้วแต่ว่าเพลงนั้น Key อะไร บางทก็ Bb แต่ส่วนใหญ่จะเป็น Key F ครับ ต้องลองหา The Real Book มาอ่านครับ ไม่ทราบคุณ parirak มีหรือเปล่าครับ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ6 มีนาคม 2552 เวลา 15:30

    แสดงว่าถ้าเราจะเล่น Jazz Blues
    แบบ Improvisation เองหมดทั้งเพลง
    เขามักนิยมเล่น Key F ( ใช่หรือไม่ครับ )

    ส่วนหนังสือ The Real Book ผมไม่มีหรอกครับ
    ไม่ทราบว่าเป็นชื่อหนังสือหรือเปล่าครับ
    แล้วพอจะหาซื้อได้ที่ไหนครับ ราคาประมาณเท่าไรครับ
    *** รบกวนหน่อยนะครับ ***

    ตอบลบ
  4. มีได้ทุกคีย์ครับ แล้วแต่เพลง
    ส่วน The Real Book เป็นหนังสือเพลงแจ๊ส มี 3 เล่ม ถ้าต้องการเรียนเพลงแจ๊ส จะเป็นประโยชน์มาก เอาไว้คุณ parirak ฝาก e-mail ของคุณมาที่ catz2go@gmail.com สิครับ แล้วผมจะส่งไปให้ ไม่ต้องซื้อหรอก มันหาซื้อยาก และอาจราคาสูงด้วย ว่าง ๆ ผมส่งไปให้ทีละเล่มนะครับ

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ7 มีนาคม 2552 เวลา 10:34

    ผมส่ง e-mail ของผมไปที่ catz2go@gmail.com แล้วนะครับ

    *** ขอบคุณมากครับ ***

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ14 มีนาคม 2552 เวลา 09:34

    ต้องขอโทษ คุณ จีรศักดิ์ ด้วยนะครับที่ตอบกลับช้าไปมากเลย
    วันนี้เพิ่งจะมีเวลาว่างเข้ามาเช็ค Mail
    ถึงได้รู้ว่า คุณ จีรศักดิ์ ได้ส่ง The Real Book 1 & 2
    มาให้แล้ว ต้องขอขอบคุณมากนะครับ
    สำหรับหนังสือดีๆ ที่หายากแน่ๆเลยแบบนี้
    *** เยี่ยมจริงๆเลยครับ ***

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ22 มีนาคม 2552 เวลา 13:41

    *** เอาไว้ผมจะมาอธิบายเรื่อง II - V - I (ทู - ไฟว์ - วัน) โดยเฉพาะเลยละกันนะครับ ***

    ผมยังรอและติดตามอ่านเรื่อง II - V - I (ทู - ไฟว์ - วัน) อยู่นะครับ

    ตอบลบ
  8. ขอบคุณพี่แมวสำหรับความรู้ดีๆ ที่นำมาฝากนะครับ

    ตอบลบ
  9. ขอบคุณ พี่แมวมากๆ สำหรับความรู้ที่แนะนำไว้ เป็นประโยชน์มากเลยครับ
    fotobeer.

    ตอบลบ

จับคอร์ดแล้วเชิญคุยกัน

โฆษณาโดย Google