วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552

ความรู้พื้นฐานเรื่อง ii - V - I Progressions


อาจดูเหมือนว่าการอิมโพรไวส์ หรือการโซโล่นั้นคือเอกลักษณ์ที่โดดเด่นสำหรับดนตรีแจ๊ส แต่ที่โดดเด่นไม่แพ้กัน เห็นจะเป็นการเล่นคอร์ดของมือเปียโนและมือกีตาร์ ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะสีสันของดนตรีแจ๊สนั้น ส่วนหนึ่งมาจากการสร้างทางคอร์ดและ voicing ที่ไม่เหมือนดนตรีสไตล์อื่น
ทางคอร์ดที่นักดนตรีแจ๊สทุกคนต้องรู้จัก และถือเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับดนตรีแจ๊ส คือ ทางคอร์ด ii - V - I (ทู-ไฟว์-วัน)

ii - V - I (ทู-ไฟว์-วัน) มีสองแบบ คือ
1. ii - V ไปหา I ที่เป็น major หาได้จากการไล่ Major Scale ดังตัวอย่างข้างล่าง


จากตัวอย่าง จะเห็นว่าคอร์ด ii คือ Dm7 และคดร์ด V คือ G7 ดังนั้นคอร์ด I ก็คือ Cmaj7 นั่นเอง
เวลาเราเห็นคอร์ดเป้าหมายอยู่ข้างหน้า ให้เราดูว่าคอร์ดนั้นเป็นเมเจอร์หรือไมเนอร์ ถ้าเป็นเมเจอร์ (เช่น Cmaj7) ก็ให้เล่นดังตัวอย่างข้างล่างนี้





2. ii - V ไปหา I ที่เป็น minor หาได้จากการไล่ Harmonic Minor Scale ดังตัวอย่างข้างล่าง


จากตัวอย่าง จะเห็นว่าคอร์ด ii คือ Dm7b5 และคดร์ด V คือ G7 ดังนั้นคอร์ด I ก็คือ Cm7 หรือ CmMaj7 นั่นเอง
เวลาเราเห็นคอร์ดเป้าหมายอยู่ข้างหน้า ให้เราดูว่าคอร์ดนั้นเป็นเมเจอร์หรือไมเนอร์ ถ้าเป็นไมเนอร์ (เช่น Cm7) ก็ให้เล่นดังตัวอย่างข้างล่างนี้


การเล่นคอร์ด ii - V ไปหาคอร์ด I นั้นนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในแวดวงดนตรีแจ๊ส เนื่องจากเป็นการเชื่อมจากคอร์ดหนึ่งไปยังอีกคอร์ดหนึ่งได้อย่างสละสลวย
การนำ ii - V มาใช้นั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นคอร์ดละหนึ่งห้องนะครับ อาจจะเป็นคอร์ดละสองจังหวะก็ได้ ลองมาดูคอร์ดเพลง "เจ้าสาวที่กลัวฝน" ในเวอร์ชั่นของผมจากอัลบั้ม "All in One"
แล้วมาดูกันว่าห้องไหนมีคอร์ด ii - V บ้าง
Jaow saw tee klua fon.png

จะเห็นว่าห้องที่ 4 เป็น ii - V ซึ่งคือคอร์ด D#m11 - G#7alt. แล้วส่งมาห้องที่ 5 ซึ่งคือคอร์ด C#m7 (จริง ๆ แล้วในทางทฤษฎี คอร์ด D#m11 ควรเป็นคอร์ด D#m7b5 เพราะเป็น ii ที่จะส่งไปคอร์ดไมเนอร์ แต่บางครั้งก็สามารถเล่นเป็น D#m11 ได้ เพื่อสีสันใหม่ ๆ ของเพลง -- ให้เข้าใจตามนี้นะครับ)
ส่วนห้องที่ 37 - 38 ของท่อน SOLO เป็นคอร์ด ii และ V ซึ่งคื่อคอร์ด Fm11 (ห้อง 37) และ A#7alt. (ห้อง 38) เพื่อที่จะส่งไปห้องที่ 39 ซึ่งคือคอร์ด D#m11 เป็นต้น
ถ้าอยากจะรู้ว่าเพลงไหนมีคอร์ด ii - V - I บ้าง ลองดูที่ Link โน้ตเพลง - คอร์ด ในบล็อกที่ผมเขียนสิครับ มีเพลงต่าง ๆ ที่ผมเขียนคอร์ดไว้ แล้วเพื่อน ๆ ลองวิเคราะห์กันสนุก ๆ ดูนะครับ
ถ้างงอะไรก็โพสต์คำถามไว้ได้นะครับ

วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2552

วิธีจับคอร์ด ( 4 คอร์ดพื้นฐาน )

4 Primary Chord คือ คอร์ด 4 ประเภทที่เป็นพื้นฐานสำคัญในทฤษฎีดนตรีที่เราทุกคนต้องรู้จัก และเป็น 4 คอร์ดพื้นฐานที่เราต้องหัดวางนิ้วให้ถูก ทั้งในแบบที่โน้ตเบสอยู่บนสายหกของกีตาร์ และแบบที่เบสอยู่บนสายห้า

ในแต่ละคอร์ดจะสามารถจับได้ 4 ตำแหน่ง คือ
ตำแหน่งแรกเรียกว่า Root Position
ตำแหน่งที่สองเรียกว่า First Inversion
ตำแหน่งที่สามเรียกว่า Second Inversion
ตำแหน่งที่สี่เรียกว่า Third Inversion
จะเห็นว่าในหนึ่งคอร์ดนั้นเราสามารถจับได้ถึง 4 ตำแหน่ง ถ้า 4 คอร์ดแบบเบสบนสายหก คูณกับ 4 ตำแหน่ง คุณจะสามารถจับได้ทั้งหมด 16 ฟอร์ม และถ้า 4 คอร์ดแบบเบสบนสายห้า คูณกับอีก 4 ตำแหน่ง คุณก็จะสามารถจับได้อีก 16 ฟอร์ม
สรุปแล้วคุณจะสามารถจับคอร์ดได้ถึง 32 ฟอร์ม จากคอร์ดเพียง 4 คอร์ดพื้นฐานนี้ และนี่คือแบบฝึกหัดเบื้องต้นในการทำความเข้าเรื่องคอร์ดในดนตรีแจ๊สครับ
chord diagram_Page_1.png
chord diagram_Page_3.png

วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2552

Jazz Blues

เมื่อเราเห็นคำว่า "บลูส์" อยู่ในชื่อเพลงใด ๆ อย่าเพิ่งคิดว่ามันเป็นบลูส์จริง ๆ นะครับ อย่างเพลงดัง ๆ เช่น "Limehouse Blues" หรือ "Bye Bye Blues" นั้นไม่ได้เป็นบลูส์เหมือนอย่างชื่อเลยนะครับ เช่นเดียวกันกับเพลงของ Chick Corea ชื่อ "Blues For Liebestraum" และเพลงของ Ceda Walton ชื่อ "Bremond's Blues" ก็ไม่ได้เป็นบลูส์เช่นกัน

ส่วนใหญ่แล้วเพลงบลูส์จะมี 12 บาร์ครับ แต่ก็มีบ้างที่ยาวกว่า 12 บาร์ หรือสั้นกว่า 12 บาร์ และถึงแม้ว่าเพลงบางเพลงจะมี 12 บาร์ แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นบลูส์เสมอไปนะครับ เพราะว่าหัวใจของเพลงบลูส์นั้นมิได้อยู่ที่ฟอร์ม หรือจำนวนห้อง หากแต่อยู่ที่อารมณ์ ความรู้สึก ความคิด และสำเนียงที่ถ่ายทอดออกมา (อยากแนะนำให้ฟัง B.B. King )

ก่อนจะเรียนรู้ Jazz Blues เราคงต้องเข้าใจบลูส์ดั้งเดิม หรือ Traditional Blues ก่อนเป็นอันดับแรก

Traditional Blues 1.png

Traditional Blues ประกอบไปด้วยคอร์ด I , IV และ V เป็นสำคัญ และทุกคอร์ดเป็น Dominant 7 หมด เช่น F7 , Bb7 และ C7 ดังตัวอย่างข้างต้น
ให้สังเกตบาร์ที่ 1 , 5 , 9 และ 12 ไว้นะครับ ซึ่งก็คือบาร์ที่มีคอร์ด F7 , Bb7 , C7 และ C7 นั่นเอง เพราะนั่นคือบาร์ที่สำคัญของ Traditional Blues ในการที่จะนำไปพัฒนาเป็น Jazz Blues ในขั้นต่อไป


คราวนี้เราลองมาดูหน้าตาของ Jazz Blues กันบ้างว่าแตกต่างจาก Traditional Blues มากน้อยเพียงใด สังเกตให้ดีนะครับ

Major Jazz Blues 1.png

ลองพิจารณาที่ละ 5 บาร์ก่อนนะครับ ให้ดูเปรียบเทียบระหว่าง Jazz Blues กับ Traditional Blues ตั้งแต่บาร์ที่ 1 ถึงบาร์ที่ 5 นะครับ จะเห็นว่ามีการเคลื่อนไหวที่ต่างกัน แต่คอร์ดเป้าหมายเหมือนเดิม (คือคอร์ด F7 ในบาร์ที่ 1 และคอร์ด Bb7 ในบาร์ที่ 5)
ความสำคัญอยู่ที่บาร์แรกและบาร์ที่ 5 นอกเหนือจากนั้น Jazz Blues จะเล่นเป็นคอร์ดอื่น เช่น Bb7 ในบาร์ที่ 2 แล้วกลับมาเล่น F7 ในบาร์ที่ 3 อีกครั้ง เนื่องจากไม่ใช่บาร์ที่ให้ความสำคัญอะไรมาก แต่เมื่อถึงบาร์ที่ 4 Jazz Blues จะเล่นคอร์ดที่เป็น ii - V (ทู - ไฟว์) ของคอร์ดในบาร์ที่ 5 คือเล่น Cm7 - F7 ส่งไป Bb7 นั่นเอง เมื่อมาถึงบาร์ที่ 7 ก็จะกลับมาเป็น F7 เหมือนเดิม

คราวนี้แหละ ตั้งใจอ่านนะครับ
บาร์ที่ 8 จะเป็น ii - V (ทู - ไฟว์) ของบาร์ที่ 9 แต่จะเห็นว่าบาร์ที่ 9 ของ Jazz Blues เป็นคอร์ด Gm7 ในขณะที่บาร์ที่ 9 ของ Traditional Blues เป็นคอร์ด C7 ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า ในทางแจ๊สนั้นเราจะมองว่าคอร์ด ii (ทู) กับคอร์ด V (ไฟว์) เป็นคอร์ดที่ใช้แทนกันได้ หรือแทบจะเรียกว่าเป็นคอร์ดเดียวกันก็ว่าได้ กล่าวคือ ใน Traditional Blues นั้น คอร์ด C7 ในบาร์ที่ 9 คือคอร์ด V (ไฟว์) ของ F7 ดังนั้น เราจึงสามารถเล่นคอร์ด Gm7 ซึ่งเป็น ii (ทู) ของ F7 แทนได้นั่นเอง
เมื่อบาร์ที่ 9 คือ Gm7 ซึ่งเป็น ii (ทู) บาร์ที่ 10 จึงเล่นคอร์ด C7 ซึ่งเป็น V (ไฟว์) ของบาร์ที่ 11 แต่เนื่องจากบาร์ที่ 12 ใน Traditional Blues เป็นคอร์ด C7 ในทางแจ๊สจึงสามารถเล่นคอร์ด Gm7 แทนได้ แล้วให้เล่น ii - V (ทู - ไฟว์) ในบาร์ที่ 11 เพื่อเชื่มไปบาร์ที่ 12 ซึ่งจะได้ Am7b5 - D7b9 ไปหา Gm7 ดังตัวอย่าง
และเพื่อเป็นการย้อนกลับไปคอร์ดเริ่มต้นใหม่ซึ่งเป็นคอร์ด F7 เราจึงสามารถเล่น ii - V (ทู - ไฟว์) ในบาร์ที่ 12 ซึ่งจะได้คอร์ด Gm7 - C7 นั่นเอง (บาร์ที่ 11 - 12 ใน Jazz Blues นั้น เรียกว่า turn around)

จะเห็นว่า Jazz Blues นั้นเน้นการใช้คอร์ด ii - V (ทู - ไฟว์) ในการเชื่อมไปยังคอร์ดต่อไป และเปลี่ยนคอร์ด V (ไฟว์) เป็นคอร์ด ii (ทู) ดังที่ได้ยกตัวอย่างไว้ จึงทำให้สีสันใน Jazz Blues นั้นมีมากกว่า Traditional Blues ซึ่งมีเพียง 3 คอร์ด
เมื่อใดที่เราได้ยินคำว่า Jazz Blues ให้จำไว้ว่าต้องเล่นฟอร์มนี้ (มาตรฐานเดียวกันทั่วโลก) เพียงแต่จะคีย์อะไรเท่านั้นเอง

เชื่อว่าคงต้องมีคนงงเรื่อง ii - V (ทู - ไฟว์) แน่ ๆ เอาไว้ผมจะมาอธิบายเรื่อง ii - V (ทู - ไฟว์) โดยเฉพาะเลยละกันนะครับ ช่วงนี้สงสัยอะไรฝากคำถามไว้ได้เลยครับ

ขอให้สนุกกับ Jazz Blues นะครับ





โฆษณาโดย Google