วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553

ฟัง ฝึก เล่น คุณสมบัติของนักดนตรีที่ดี

ฟัง ฝึก เล่น สามคำนี้ผมไม่ได้คิดขึ้นมาเอง ผมได้รับการอบรมมาจากอาจารย์ของผม คุณอานนท์ ศิริสมบัติวัฒนา หรืออาจารย์น้อย ซึ่งเสียชีวิตไปเมื่อหลายปีก่อน

อาจารย์น้อยบอกว่าถ้าอยากเล่นกีตาร์ให้เก่ง ๆ สิ่งแรกที่ต้องทำคือ "ฟังเยอะ ๆ" เพราะการฟังเป็นการเติม input ให้สมองและจิตวิญญาณ เราจำเป็นต้องมีตัวอย่างไว้ศึกษาว่าสำเนียงกีตาร์ที่ดีนั้นเป็นอย่างไร แล้วมีใครบ้างที่น่าฟัง (อันนี้แล้วแต่ความชอบส่วนบุคคลว่าจะเลือกฟังใคร) และที่จริงแล้วเราควรจะฟังทุกเครื่องมือ ไม่ใช่แต่เพียงกีตาร์เท่านั้น เมื่อเราฟังมากพอที่จะตัดสินใจได้ว่าเราชอบใครและเลือกที่จะเอามาเป็นแบบอย่างในการฝึกฝน ก็จะถือได้ว่าเรามีแนวทางที่จะนำพาเราไปสู่จุดที่เราฝันได้แล้ว

ประการต่อมาที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน คือ "ฝึกเยอะ ๆ" แน่นอนครับ อยากเก่งแต่ไม่ฝึกฝนก็คงไม่มีวันเก่ง แต่การจะฝึกเยอะ ๆ ได้นั้น ก็ต้องมาจากการฟังเยอะ ๆ อย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว เพราะการที่เราฝึกโดยที่เราไม่ได้ฟังมาก่อนนั้น "เป็นไปไม่ได้" แม้แต่คนที่เรียกตัวเองว่าเป็น "มวยวัด" ไม่ได้ร่ำเรียนที่ไหนมา ก็ยังต้องฟังคนอื่นมาเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานว่าลูกโซโล่ลูกนี้เล่นแล้วคนอื่นเขาชอบกัน เล่นแล้วฟังดูเก่ง ฉันจึงควรเล่นลูกนี้กับเขาบ้าง เราจึงปฏิเสธไม่ได้ว่า "ฟังเยอะ จึงฝึกได้เยอะ"

ประการสุดท้ายที่สำคัญที่สุด คือ "เล่นเยอะ ๆ" อยากจะเป็นนักดนตรีแต่ไม่ได้เล่นดนตรี แล้วมันจะเป็นนักดนตรีได้อย่างไร มันเป็นเหตุผลที่ใครก็น่าจะเข้าใจได้ไม่ยาก เราจะฝึกไปเพื่ออะไร ถ้าฝึกแล้วไม่ได้ "ปล่อยของ" มันต้องโชว์ มีดีต้องเอามาอวดกันด้วยจิตวิญญาณของนักดนตรีที่อ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ใช่มาอวดเก่งใส่กันแบบอีโก้ล้วน ๆ การที่เราเห็นนักดนตรีคนหนึ่งกำลังเล่นอยู่นั้น เราควรมองเขาด้วยความรู้สึกที่ชื่นชม และให้เกียรติ เพราะเราไม่รู้หรอกว่านั่นอาจจะเป็นวันแรกที่เขาเริ่มเล่นดนตรี ภายใต้เสียงดนตรีที่เขาเล่นออกมานั้นมันแฝงไปด้วยพลังแห่งจินตนาการหรือจิตวิญญาณอันแรงกล้ามากน้อยเพียงใด สิ่งเดียวที่เราควรทำคือ "ชื่นชมยินดีกับเขา" เพราะเขาคนนั้นกำลังยืนอยู่บนจุดที่สูงที่สุดของการเป็นนักดนตรี คือ "การเล่นดนตรี"

คุณจะไม่มีวันเล่นดนตรีได้ถ้าคุณไม่ฝึก และคุณจะไม่มีวันฝึกได้ถ้าคุณไม่ฟัง

สามคำที่อาจารย์น้อยสอนมานั้น ผมจะไม่ีมีวันลืม ทุกวันนี้ผมยัง ฟัง ฝึก เล่น อยู่เสมอ เพราะผมเชื่อว่านี่คือ "คุณสมบัติของนักดนตรีที่ดี"

แด่อาจารย์น้อย อานนท์ ศิริสมบัติวัฒนา


อาจารย์น้อย อานนท์ ศิริสมบัติวัฒนา นั่งตรงกลาง
ผมนั่งอยู่ด้านซ้ายของอ.น้อย (ด้านขวาของคุณ) ที่หล่อ ๆ ใส่แว่นนั่นแหละ !

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วิธีโซโล่แจ๊สกีตาร์แบบ outside ตอนที่ 1

มีเพื่อน ๆ แนะนำให้ผมเขียนเรื่องการโซโล่แบบ outside ในบล็อก ไอ้ผมมันก็เชื่อคนง่ายเสียด้วย เลยสนอง ...แต่ผมจะเขียนในลักษณะที่เป็นการให้ไอเดียและบอกวิธีที่ผมใช้อยู่เป็นประจำนะครับ จะอ้างอิงทฤษฎีแค่พอให้รู้ที่มาที่ไปเท่านั้น ไม่ถึงกับต้องมานั่งจำอะไรมากมาย เดี๋ยวการเรียนวิชาดนตรีจะกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อ ยากแก่การเข้าใจ .... งั้นเริ่มเลยละกัน

1. วิธีคิดในเชิงฮาร์โมนี่ (Harmonic Thinking)


เป็นวิธีทั่วไปที่นักโซโล่หลายคนใช้ แต่ว่าใครจะใช้ฮาร์โมนี่แบบไหนนั้นต้องดูกันอีกที ผมขอให้ไอเดียง่าย ๆ สำหรับผู้กำลังเริ่มต้นจะ out อย่างนี้ครับ
1.1 การใช้ 3rd Relation Harmony ในการโซโล่ก็เป็นไอเดียหนึ่งที่น่าสนใจ เช่น เวลาเห็นคอร์ด Cm7 ให้เรามองไปที่คอร์ด EFlat.pngmaj7 (หรือ relative major นั่นแหละครับ) แล้วทำเป็น EFlat.pngmaj7Sharp.png5 แล้วใน EFlat.pngmaj7Sharp.png5 เนี่ย มี Arpeggios ของคอร์ดอื่น ๆ อีกพอสมควรเลยครับ เช่น Am7Flat.png5 , G หรือ G9 , Dm7 , F หรือ F9 เป็นต้น คอร์ดเหล่านี้คุณสามารถเล่น arpeggio ของมันได้ทั้งหมดเลยในขณะที่คอร์ดแช่อยู่ Cm7 ดูตัวอย่าง

Outside Soloing 1.png

หรือแทนที่จะใช้โหมด C Dorian หรือ C Aeolian คุณ John Coltrane ก็จะใช้ EFlat.png Lydian Augmented

ในทางกลับกัน John Coltrane จะมองคอร์ดที่เป็น relative minor เวลาเห็นคอร์ดที่เป็น major เช่น ใน Fmaj7 เขาจะมองเป็นคอร์ด Dm7 แล้วเล่นเป็น Dm(maj7) , Dm13 หรือไมเนอร์อะไรก็ได้ที่ไม่ใช่ Dm7Flat.png5

1.2 อีกวิธีหนึ่งที่ผมใช้อยู่บ่อย ๆ ก็คือ การนำ ii - V Lines มาใช้ โดยที่ผมจะพยายามสร้างมันขึ้นมาเอง ถึงแม้ว่าในท่อนที่กำลังโซโล่นั้นมีอยู่เพียงหนึ่งคอร์ดเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น มีคอร์ด EFlat.pngmaj7 อยู่ 4-5 บาร์ ผมจะโซโล่ใน EFlat.pngmaj7 สัก 3 บาร์ พอถึงบาร์ที่ 4 ผมจะใช้ ii - V Lines ใน parallel key ของ EFlat.pngmaj7 (ซึ่งก็คือการยืมคอร์ด ii - V ใน EFlat.pngm7 มาใช้นั่นเอง) ดังนั้นผมจึงเล่นโหมดในคอร์ด Fm7Flat.png5 ไป BFlat.png7alt. แล้วกลับมา EFlat.pngmaj7 ในบาร์ที่ 5 โดยโหมดที่ใช้นั้นคือ F LocrianSharp.png2 ไป BFlat.png Super Locrian นั่นเองครับ ถ้างงก็ดูตัวอย่างครับ

Outside Soloing 2.png

หรือบางทีผมอาจมองแค่คอร์ดห้าเพียงอย่างเดียวก็ได้ เช่น มี EFlat.pngmaj7 อยู่ 4 บาร์ ผมจะใช้ EFlat.png Ionian ในบาร์แรก พอบาร์ที่ 2 ผมจะเอาท์ไปเล่น BFlat.png Super Locrian แล้วกลับมา EFlat.png Ionian ในบาร์ที่ 3 แล้วบาร์ที่ 4 ก็เอาท์ไป BFlat.png Super Locrian อีก... ดังตัวอย่างนี้ครับ
Outside Soloing 3.png

หรือถ้าอยากเล่น EFlat.png Ionian สัก 2 บาร์ แล้วมาเล่น BFlat.png Super Locrian อีก 2 บาร์หลังก็ไม่แปลกครับ เพราะมันคือการโซโล่แบบ outside เพียงแต่หาวิธีกลับมาคีย์เดิมให้เนียน ๆ แค่นั้นเอง ลองมาดูตัวอย่างสักนิดดีกว่า
Outside Soloing 4.png

ยังมีอีกนะครับ ไอเดียเรื่องการโซโล่แบบ outside เนี่ย มีวิธีมองอีกหลากหลายและซับซ้อนขึ้นเรื่อย ๆ คราวนี้เอาแค่นี้ก่อน...


โปรดติดตามตอนต่อไป


วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552

วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การใช้โหมด (ตอนที่ 4)

ที่จริงแล้วผมเคยเขียนเรื่องนี้แล้วครั้งนึง ชื่อว่า "การโซโล่ในคอร์ดโดมิแนนท์" แต่ขอเอามาลงอีกครั้งโดยมีเนื้อหาคล้ายเดิมเพียงแต่รายละเอียดต่างกันนิดหน่อยเพื่อให้เพื่อน ๆ มีข้อมูลมากขึ้น



วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การใช้โหมด (ตอนที่ 3)

โหมดที่ใช้ในกลุ่มคอร์ด Minor 7 Flat.png5



locrian 6-1.jpg
โหมดที่ 2 ของ Harmonic Minor Scale ใช้กับคอร์ด m7Flat.png5 ที่เป็น ii มุ่งหน้าไปหา V เช่น Cm7Flat.png5 – F7Flat.png9 – BFlat.pngm7 เป็นต้น เวลาใช้โหมดนี้จะทำให้เกิดเสียงที่ต่อเนื่องไปยังคอร์ด V ได้อย่างนุ่มนวลทีเดียว เพราะตัวโน้ต Natural.png 6 (โน้ตตัว A) นั้นจะกลายเป็นโน้ตคู่ 3 ของคอร์ด V (F7Flat.png9) พอดี เสียงที่ไล่ไปมาจึงไม่กระโดดจนต้องเงี่ยหูฟัง ที่สำคัญ โหมดที่ผมใช้สำหรับ ii – V – I Progression นั้น ผมจัดไว้ดังนี้ครับ
locrian 6-2.jpg


locrian 2-1.jpg
โหมดที่ 6 ของ Melodic Minor Scale ใช้กับคอร์ด m7Flat.png5 ที่เป็น ii มุ่งหน้าไปหา V ผมเป็นขาประจำโหมดนี้ครับพี่น้อง เวลาผมเล่นผมจะใช้หลักการที่เรียกว่า Minor Third Away มาใช้ กล่าวคือ เวลาผมเห็นคอร์ด ii ซึ่งในที่นี้คือ Cm7Flat.png5 ผมจะเล่น C Locrian Sharp.png2 ซึ่งก็คือ EFlat.png Melodic Minor นั่นเอง (โหมดที่ 6 ใน EFlat.png Melodic Minor Scale คือ C Locrian Sharp.png2) แล้วเมื่อผมเห็นคอร์ด V ในที่นี้คือคอร์ด F7Sharp.png5Flat.png9 ผมจะเล่น F Super Locrian ซึ่งก็คือ GFlat.png Melodic Minor จะเห็นว่าจาก EFlat.png Melodic Minor มายัง GFlat.png Melodic Minor นั้นห่างกันหนึ่งเสียงครึ่ง หรือห่างกันเป็น Minor Third และเมื่อผมเล่น Lick ใด ๆ ใน EFlat.png Melodic Minor แล้ว ผมก็จะเล่น Lick นั้นอีกครั้งใน GFlat.png Melodic Minor เพียงแค่ผมเลื่อนตำแหน่งเท่านั้นเอง ลองดูตัวอย่าง
locrian 2-2.jpg


locrian 1.jpg
ใช้ได้ทั้งกับคอร์ด m7 Flat.png5 ที่เป็น ii ส่งไปหา V หรือเป็นคอร์ด vii ที่แช่ไว้นาน ๆ ไม่ต้องส่งไปหา V ก็ได้ ลองฟังดูครับ
locrian 2.jpg

โฆษณาโดย Google